top of page

How Analytics And AI Can Help Achieve Carbon Neutrality

Updated: Sep 28, 2022

*This article was written by Pedro Uria Recio, Chief Analytics & AI Officer, True Digital Group and was originally published on Forbes.com

*For the Thai version, please scroll down below*

Most of us recognize that climate change is an issue that needs to be tackled quickly for the future of our planet. Even recently at the U.N. Climate Change Conference (COP26), governments across the globe were pledging to tackle the climate crisis and setting targets for carbon neutrality. However, relying on the legal system and governments is simply not enough — companies can also actively participate in reducing their carbon footprint and creating positive change for the environment. Although there are many approaches for companies to go about solving this issue, one way to neutralize their carbon footprint in the short-term is through the use of carbon credits.


What is a carbon credit?


According to NBC News, "A carbon credit is a kind of permit that represents one ton of carbon dioxide removed from the atmosphere." Most corporations create carbon dioxide emissions as part of their operations. In order to offset these emissions, companies need to make sure they have other activities that reduce, destroy, avoid or capture emissions. However, if they are not able to directly participate in these activities, corporations can always purchase carbon credits to balance out the amount of carbon they release into the environment. Carbon credits are mainly created by growing carbon pools (i.e., forests and agricultural areas) that absorb carbon out of the air.


How can you get started with carbon credit trading?


Governments across the world have reached different levels of carbon emission regulations, and based on this, companies can generally engage in carbon credit trading from two perspectives: for compliance or voluntarily. Carbon credits are traded in three main ways for enterprises: first, through auctions from regulators; second, through over-the-counter direct agreements between the buyer and seller; and finally, through exchange trading.


Additionally, carbon credits are now even available for direct online purchase by eco-conscious individuals from retailers. Depending on where you live, a quick online search will provide several resources for you to connect with parties involved in carbon credit trading. Partnering with an entity that has experience and can provide advice on how you can best use carbon credits for your business and environmental impact is a logical way to proceed.


So we have an area with trees – how can we measure how much carbon it absorbs from the atmosphere?


The traditional way to measure carbon pools is by studying sample plots and extrapolating the measurements to cover the entire area. However, given this method is highly manual, it is time-consuming and also not scalable in the long-term.


The prototype model developed by Charoen Pokphand Group (CP), of which my company is a subsidiary, aims to automate this process by comparing satellite imagery over time to measure the above-ground biomass of a forest area and calculate how much carbon emissions a forest area is able to capture from the atmosphere. This then informs the carbon credit of the specified area.


CP Group has found that the results, thus far, using forest datasets from several countries, including the Democratic Republic of Congo and Laos, have been promising with a high percentage of accuracy and continue to be fine-tuned to improve performance.


Why does this matter?


As companies are faced with social pressure to behave more responsibly, carbon footprint neutralization demand will increase. With the ease of carbon credit measurement models, everyone from individuals to governments who own green spaces have the opportunity to engage with carbon credit trading. The incentive of carbon credit trading to serve the needs of corporations to offset their emissions could prevent more green spaces from being turned into concrete and could also lead to the planting of more trees.


Moreover, carbon credit trading would provide an additional path to income in the future, which could benefit many communities, including rural areas. Although carbon credits will not immediately solve all of the climate issues being faced by the world, it’s a step in the right direction to helping the planet while corporations figure out a more direct approach to curbing their carbon emissions.


[Thai Version]



Tech By True Digital ในตอนนี้ เรานำบทความที่เขียนขึ้นโดยคุณ Pedro Uria Recio, Chief Analytics & AI Officer จากทรู ดิจิทัล กรุ๊ป บนแพลตฟอร์มของ Forbes ในหัวข้อ How Analytics And AI Can Help Achieve Carbon Neutrality มาแปลเป็นภาษาไทยให้อ่านกัน ซึ่งในบทความนี้ คุณ Pedro ได้เล่าถึงการนำ Analytics และ AI มาช่วยในกระบวนการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดคาร์บอนเครดิตของทั้งบุคคล ชุมชนและภาครัฐ


How Analytics And AI Can Help Achieve Carbon Neutrality: Analytics และ AI ในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน


เราต่างรู้ดีว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกนั้นเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่ออนาคตของโลกเรา ซึ่งสอดคล้องกับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ที่รัฐบาลทั่วโลกต่างตั้งปฏิญญาสากลร่วมกัน เพื่อแก้ไขวิกฤติสภาพภูมิอากาศและกำหนดเป้าหมายสำหรับความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) อย่างไรก็ตาม การพึ่งพารัฐบาลและกฎหมายนั้นอาจไม่เพียงพอ ซึ่งองค์กรเอกชนต่าง ๆ ก็สามารถมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีหนึ่งในหลากหลายวิธีสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนในระยะสั้น ก็คือคาร์บอนเครดิตนั่นเอง


คาร์บอนเครดิต คืออะไร


NBC News ให้คำจำกัดความไว้ว่า “คาร์บอนเครดิตมีลักษณะคล้ายใบอนุญาตแทนปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ 1 ตันที่ถูกกำจัดออกจากชั้นบรรยากาศ” โดยส่วนใหญ่แล้ว องค์กรต่าง ๆ มักมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือที่เรียกว่า “ก๊าซเรือนกระจก” ระหว่างการดำเนินงานขององค์กรอยู่แล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม แต่ละองค์กรจึงจำเป็นต้องดำเนินโครงการ หรือมีการทำกิจกรรมเพื่อลด ทำลาย หลีกเลี่ยง หรือตรวจจับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ตาม หากองค์กรใดไม่ได้ดำเนินโครงการ หรือมีมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรงดังเช่นที่ได้กล่าวมา องค์กรดังกล่าวก็สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อรักษาสมดุลให้กับปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม โดยคาร์บอนเครดิตส่วนใหญ่จะมาจากแหล่งรวมคาร์บอนที่ก่อให้เกิดการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ อาทิ พื้นทีป่า พื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น


เราจะเริ่มต้นซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้อย่างไร


รัฐบาลจากทั่วโลกได้ตั้งเป้าหมายเพื่อบรรลุข้อตกลงในการปล่อยคาร์บอนในระดับที่แตกต่างกันออกไป และด้วยเหตุนี้เอง องค์กรจึงสามารถมีส่วนร่วมในตลาดคาร์บอนได้ โดยตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคบังคับและตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ ซึ่งโดยทั่วไปตลาดคาร์บอนเครดิตมีการซื้อขายกัน 3 วิธี คือ

  1. ผ่านการประมูลโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลจากภาครัฐ

  2. ผ่านการตกลงโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และ

  3. ผ่านตลาดการซื้อขายคาร์บอนเครดิต

นอกจากนี้ คาร์บอนเครดิตยังสามารถซื้อขายได้โดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์จากผู้รักสิ่งแวดล้อมรายย่อย ซึ่งมีให้เลือกซื้อทางออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย โดยวิธีการที่ดีวิธีหนึ่งในการดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตก็คือ การเป็นพันธมิตรกับองค์กรที่มีประสบการณ์ในตลาดคาร์บอน เพราะองค์กรเหล่านั้นจะช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้คาร์บอนเครดิตในธุรกิจและเพื่อสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุด


ถ้าหากเรามีพื้นที่ป่าหรือต้นไม้อยู่แล้ว เราจะมีวิธีการวัดปริมาณการดูดซับคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศของพื้นที่เหล่านี้ได้อย่างไร


วิธีการดั้งเดิมในการวัดความสามารถในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนจากแหล่งรวมคาร์บอนคือ การศึกษาแปลงตัวอย่างแล้วนำมาประมาณการพื้นที่ทั้งหมดที่มี อย่างไรก็ตาม วิธีการแบบนี้ใช้แรงงานคนจำนวนมาก ใช้เวลานานและไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงของขนาดพื้นที่ในระยะยาว


เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group) ได้พัฒนาโมเดลต้นแบบในการใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อวัดความสามารถในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนนี้ โดยใช้การเปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียมของพื้นที่ในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อวัดชีวมวลเหนือพื้นดินของพื้นที่ป่าไม้และคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนในพื้นที่ จากนั้นจึงแปลผลเป็นตัวเลขคาร์บอนเครดิตของพื้นที่นั้น ๆ


CP Group พบว่าการใช้ชุดข้อมูลป่าไม้จากหลายประเทศเพื่อเปรียบเทียบ ให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำในระดับสูง แต่ยังคงต้องการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อประสิทธิภาพของการวัดค่าการดูดซับคาร์บอนที่ดีขึ้น


เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร


องค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากสังคมให้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ความต้องการเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอนจึงเพิ่มขึ้นตามลำดับ ด้วยโมเดลการวัดคาร์บอนเครดิตที่ง่ายนี้เองจะทำให้ทุกคนตั้งแต่บุคคลทั่วไปจนถึงรัฐบาลที่มีพื้นที่สีเขียวเป็นของตัวเองนั้นมีโอกาสในการเข้าถึงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ ซึ่งค่าตอบแทนจากการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรในการชดเชยการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม จะทำให้เราสามารถป้องกันไม่ให้พื้นที่สีเขียวในเมืองกลายเป็นสิ่งปลูกสร้างทางคอนกรีต และอาจนำไปสู่การปลูกต้นไม้ที่มากขึ้นได้อีกด้วย


มากไปกว่านั้น การซื้อขายคาร์บอนเครดิตยังสามารถเป็นช่องทางในการเพิ่มรายได้ในอนาคต เป็นโอกาสทางธุรกิจซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อหลายชุมชนรวมไปถึงพื้นที่ชนบทได้ด้วย


แม้ว่าคาร์บอนเครดิตจะไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศที่โลกกำลังเผชิญได้ในทันที แต่นี่ก็ถือเป็นหนทางในการช่วยปกป้องโลกได้ ในขณะที่องค์กรเองก็ต้องหาวิธีการเพื่อการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงด้วยเช่นกัน


คุณสามารถอ่านบทความต้นฉบับได้ที่ https://bit.ly/3ck1Qej






bottom of page